วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการตอบ

วัตถุแห่งหนี้

นาย ก. ซื้อข้าวเปลือกในยุ้งของ นาย ข. ๑o เกวียน ชำระราคาแล้วขอฝากข้าวเปลือกในยุ้งไว้ก่อนพรุ่งนี้จะนำรถมาขนเอาไปแต่ นาย ก. ไม่มารับข้าวเปลือกตามที่ตกลงไว้ วันถัดมาเกิดพายุเข้าพัดยุ้งข้าวเสียหายทั้งหมด นาย ก. จะเรียกให้ นาย ข. ชำระหนี้ข้าวเปลือก  ๑o เกวียนได้หรือไม่เพราะเหตุใด


ธงคำตอบ  ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๕
ข้าวเปลือกในยุ้งเป็นวัตถุแห่งหนี้ซึ่งได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภทมิได้กำหนดไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนจนกว่าจะได้ชั่งหรือตวงแล้วจึงไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งตาม ม. ๑๙๕ วรรค ๒ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจึงตกอยู่กับ นาย ข. เจ้าของข้าวเปลือก





การชำระหนี้

การชำระหนี้

๑. ผู้ชำระหนี้

- การชำระหนี้โดยลูกหนี้  คือ ลูกหนี้ชำระเองโดยตรงเพราะเป็นหน้าที่ของลูกหนี้

-การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก  คือ บุคคลที่ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้ามาชำระหนี้แทนลูกหนี้


๒.การปลดหนี้

   การปลดหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่า เจ้าหนี้จะปลดหนี้ให้หนี้นั้นหลุดพ้นจากภาระหน้าที่และหนี้สินที่ลูกหนี้มีอยู่แก่ตนเอง ทั้งนี้เป็นการกระทำโดยเสน่หาและไม่ประสงค์จะเรียกค่าตอบแทนใดๆ


๓.การหักกลบลบหนี้

   การหักกลบลบหนี้ คือ กรณีซึ่งลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน และมีการทำให้หนี้ของแต่ละฝ่ายระงับลงโดยการนำหนี้นั้นมาหักกลบกับสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ การหักกลบลบหนี้จึงเป็นวิธีการระงับหนี้โดยไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่กัน


๔.การแปลงหนี้ใหม่

    แปลงหนี้ใหม่ คือ การที่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ตกลงทำให้หนี้เดิมระงับและบังคับกันตามหนี้ที่ได้ตกลงกันใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เดิมซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ เปลี่ยนตัวลูกหนี้ หรือเปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ก็ได้


๕.หนี้เกลื่อนกลืนกัน

    หนี้เกลื่อนกลืนกัน คือ การที่สิทธิและหน้าที่ของหนี้รายหนั่งตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกล่าวคือ บุคคลนั้นมีสถานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเอง หนี้รายนั้นก็จะเกลื่อนกลืนลบล้างกันทำให้สถานะความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้สูญสิ้นไปและหนี้ก็จะระงับ

ความระงับแห่งหนี้

ความระงับแห่งหนี้


    ความระงับแห่งหนี้ คือ การสิ้นสุดแห่งความสัมพันธ์ที่เรียกว่าหนี้ กล่าวคือ เจ้าหนี้สิ้นสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระแก่ตน และลูกหนี้ก็สิ้นหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติการชำระหนี้


     ความระงับแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๒ ลักษณะ ๑ หมวด ๕ กำหนดไว้ ๕ ประการที่ทำให้หนี้ระงับ คือ

๑.การชำระหนี้ ( มาตรา ๓๑๔-๓๓๙)

๒.การปลดหนี้ (มาตรา ๓๔o)

๓.การหักกลบลบหนี้ (มาตรา ๓๔๑-๓๔๘)

๔.การแปลงหนี้ใหม่ (มาตรา ๓๔๙-๓๕๒)

๕.หนี้เกลื่อนกลืนกัน (มาตรา ๓๕๓)




วัตถุแห่งหนี้

วัตถุแห่งหนี้

ความรู้ทั่วไป

มาตรา 194 ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งย่อมมีได้

    มาตรานี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับ สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ มีข้อพิจารณา ดังนี้

๑. "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้"  คือ ต้องมีหนี้ต่อกัน โดยมูลหนี้อาจเกิดจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด  จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ หรือโดยบทบัญญัติของกฎหมาย และ

๒. มูลหนี้นั้นต้องชอบด้วยกฎหมาย คือ เป็นหนี้ที่กฎหมายยอมรับบังคับให้

๓.เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ คือ สิ่งที่เจ้าหน้าหนี้จะเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้นั้น อาจเป็นการกระทำในเชิงบวก เช่น การกระทำบางอย่าง การชำระเงิน การโอนทรัพย์สิน หรืออาจเป็นการกระทำในเชิงลบ เช่น การงดเว้นการกระทำบางอย่างก็ได้ สิ่งที่เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้นี้เป็นสาระแห่งหนี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วัตถุแห่งหนี้"



วัตถุแห่งหนี้

แบ่งได้ ๓ ประการ คือ

๑.การกระทำการ   คือ   การที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่เจ้าหนี้

๒.งดเว้นกระทำการ  คือ  การที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เจ้าหนี้ หรือหยุดการกระทำต่างๆ

๓.การส่งมอบทรัพย์  คือ  การส่งทรัพย์สินกับอีกบุคคลหนึ่ง




องค์ประกอบของหนี้

องค์ประกอบของหนี้

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นคำจำกัดความอย่างไรองค์ประกอบของหนี้ก็จะยังคงมีเหมือนกันนั้นคือ ๓ องค์ประกอบ คือ


๑.ลูกหนี้

คือ ผู้อยู่ใต้อำนาจบังคับและมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามอำนาจบังคับของเจ้าหนี้


๒.เจ้าหนี้

คือ ผู้มีอำนาจบังคับต่อลูกหนี้


๓.วัตถุแห่งหนี้

- การกระทำการ

-การงดเว้นการกระทำการ

-การส่งมอบหรือโอนทรัพย์สิน

หนี้ Obligation

ความหมายของ "หนี้"
ศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ให้ความหมายคำว่า "หนี้" ไว้ว่า หนี้คือความผูกพันธ์ที่มีผลในกฎหมาย ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ มีวัตถุเป็นการกระทำหรืองดเว้นหรือส่งมอบทรัพย์สินจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ลูกหนี้"  (๑)

ศาสตราจารย์จี๊ด เศรษฐบุตร ให้ความหมายไว้ว่าคำว่า "หนี้" นั้นอธิบายได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ต้องกระทำนั้นเรียกว่า "ลูกหนี้" ส่วนฝ่ายที่ได้รับผลของการกระทำนั้นเรียกว่า "เจ้าหนี้" ส่วนการกระทำนั้นแยกออกเป็น ๓ ชนิด คือ ๑.กระทำการอย่างที่เข้าใจกัน ๒.กระทำการละเว้นการกระทำ ๓.กระทำการโอนทรัพย์สิน (๒)


       ความหมายของหนี้ก็คือความผูกพันธ์ระหว่างบุคคลสองคน ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้มีความชอบธรรมเรียกบังคับให้ลูกหนี้นั้นชำระหนี้ได้ตามกฎหมายบัญญัติ





(๑) ศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช .ชีทสรุปชุดคุณภาพดีเยี่ยม ป.พ.พ.ว่าด้วยหนี้ .ธนิต สุวรรณเมนะ บรรณาธิการ
(๒)ศาสตราจารย์จี๊ด เศรษฐบุตร.ชีทสรุปชุดคุณภาพดีเยี่ยม ป.พ.พ.ว่าด้วยหนี้.ธนิต สุวรรณเมนะ บรรณาธิการ

บรรณานุกรม

  • (๑)รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์.บรรพ ๒ หมวด๕ ความระงับหนี้ ส่วนที่ ๑ การชำระหนี้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับสมบูรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๑ รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ พรชัย สุนทรพันธุ์,บรรณาธิการ.กรุงเทพมหานคร :บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด (๒)ธนิต สุวรรณเมนะ."องค์ประกอบของหนี้" ใน ชีทสรุปชุดคุณภาพดีเยี่ยม ปพพ.ว่าด้วยหนี้ หน้า ๑-๔ รวบรวมโดย ธนิต สุวรรณเมนะ,บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร : สถาบันติวนิติธนิต (๓)ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. "องค์ประกอบหนี้" ใน หลักกฎหมาย (Principle of law) หนี้ (Obligation)พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติม หน้า ๑-๕ รวบรวมโดย ภัทรศักดิ์ วรรณแสง,บรรณาธิการ. (๔)โสภณ รัตนากร."วัตถุแห่งหนี้" ใน คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๑o รวบรวมโดย โสภณ รัตนากร ,บรรณาธิการ. (๕)ภัทรศักดิ์ วรรณแสง."ความระงับหนี้" ใน คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้ หน้า ๑๒๗-๑๒๗. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม